Ads

Loading

        ท้องถิ่นจังหวัดระยอง และกลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมนำโดย กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เอสซีจี บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โรงเรียนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน” ขยายผลองค์ความรู้ด้านการคัดแยกพลากติกเหลือใช้สู่โรงเรียนในจังหวัดระยอง โดยมี อาจารย์จากโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรวมทั้งสิ้น 30 แห่ง เข้าร่วมรับฟัง ที่ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ระยอง อ.เมือง จ.ระยอง

         นายสมชาย รุ่งเรือง ท้องถิ่นจังหวัดระยอง กล่าวว่า “ตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ วางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินผลร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยขับเคลื่อนงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างระบบการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมชุมชนต้นแบบในการคัดแยกขยะ การรณรงค์ปรับพฤติกรรมการใช้พลาสติกให้เกิดการคัดแยกอย่างถูกต้องตามประเภทก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ การสนับสนุนให้สถานศึกษามีองค์ความรู้จึงถือเป็นการวางรากฐาน สร้างความตระหนัก และส่งต่อความรู้สู่เยาวชนลูกหลานของเรา ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน”

             ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานกลุ่ม PPP Plastics กล่าวว่า   โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) พื้นที่นำร่องจังหวัดระยอง (Rayong Model) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โดยมีเป้าหมายจะทำให้ขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้หมดโดยไม่มีขยะพลาสติกไปหลุมฝังกลบเลยภายในปี พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 18 แห่งเข้าร่วมและมีการจัดทำฐานข้อมูลของการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างเป็นระบบ โดยส่งเสริมให้ประชาชนกว่า 5,000 คน มีส่วนร่วมในการคัดแยกและบริหารจัดการขยะ โดยเฉพาะพลาสติกเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ และขยายเครือข่ายเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจสู่ภาคชุมชน พร้อมทั้งรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่อไป            

                            นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้บริหารกลุ่ม PPP Plastics   กล่าวว่า “พลาสติกมีประโยชน์และมีค่าเกินกว่าจะถูกทิ้งอยู่ในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติกเป็นทรัพยากรที่ใช้ได้ไม่รู้จบ หากสามารถคัดแยกจากขยะอื่น ๆ ตั้งแต่ต้นทางได้อย่างถูกต้องเพื่อลดการปนเปื้อน ก็จะสามารถช่วยลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญชุมชนก็จะขายพลาสติกแต่ละชนิดได้ในราคาที่สูงขึ้นเพื่อวนนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและใช้ประโยชน์ตามแต่ละประเภทต่อไป จากการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 2 ปี พันธมิตรในโครงการสามารถนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณที่หลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อมได้แล้วมากกว่า 300 ตัน…000 

                ธนัญธร  รวงผึ้ง

TT Ads

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *